LOVELY

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550


สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว
........1.2 คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
........
1.3
หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน


จิตวิทยาการรับรู้ (Perception)
การรับรู้ เป็นเหตการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์ประสาทสมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิต ไม่ใช่จิตทั้งหมด จัดเป็นประเภทอสสาร สามารถ Observe หรือ Experienceได้ด้วยวิธีพินิจภายใน(Introspection)
........2.2
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning ) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
........2.3
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการ ( Developmental )เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา

หน่วยที่ 3 การสื่อสาร
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ ผู้ส่งสาร (Sender) คือ แหล่งข้อมูลเริ่มต้น ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ บุคคล สื่อมวลชน สาร หรือข้อมูล (Message) คือ เรื่องราวที่ต้องการให้ผู้อื่นได้รับรู้ มีความหมาย และ สาระสำคัญเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง ที่ผู้ส่งต้องการสื่อไปยังผู้รับสาร อาจอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อความ ท่าทาง การแสดงสีหน้า คำพูด น้ำเสียง การสัมผัส เป็นต้น
........3.2
รูปแบบของการสื่อสาร
เป็นการสื่อสารของ สัตว์ บุคคล การตลาด การชวนเชื่อ การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม กิจการสาธารณะ เป็นต้น
ในการสื่อสาร เราไม่อาจสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันได้ หากขาด ตัวกลาง (Medium) ในการสื่อสาร ในเรื่องนี้ผู้ส่งสารจะทำ สาร (Message) ให้เป็น รหัส (Code) ด้วยการ เข้ารหัส (Encode) เสียก่อน รหัส ของสาร (Message Code) ได้แก่สัญลักษณ์ที่มีความหมาย และเป็นที่เข้าใจ กันได้
........3.4
การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน
รูปแบบกระบวนการสื่อสารของเบอร์โล เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่า S.M.C.R.Process Model ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี การศึกษาได้เป็นอย่างดี


สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา
เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกัน
........4.3
การสร้างแบบจำลองการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
แบบจำลองเชิงนามธรรม เชิงแนวคิด หรือแบบจำลองที่เป็นซอฟต์แวร์ เช่น แบบจำลองคณิตศาสตร์ แบบจำลองวิทยาศาสตร์ แบบจำลองคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีการสร้างแบบจำลอง แบบจำลองความคิด เป็นต้น แบบจำลองเชิงนามธรรม หรือแบบจำลองเชิงแนวคิด เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเชิงทฤษฎีเพื่อแทนกระบวนการเชิงสังคม เชิงชีววิทยา หรือ เชิงฟิสิกส์ ด้วยเซตของตัวแปรและเซตของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านั้นทั้งเชิงตรรก และ เชิงปริมาณ แบบจำลองจะถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงเหตุผลภายในกรอบงานเชิงตรรกในอุมดมคติของกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่อทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์โดยแบบจำลองเป็นสิ่งที่ทำให้สมมติฐานต่าง ๆชัดแจ้งขึ้น ว่าถูกหรือผิดในรายละเอียด

หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก

ความหมายและคุณค่าของสื่อกราฟิก
สื่อกราฟิก หมายถึง การอธิบายด้วยภาพประกอบข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ประเภทของสื่อกราฟิก
1.การออกแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ
2.การออกแบบและจัดทำแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ
3.การวาดภาพอวัยวะ และระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น
........5.2
การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน
ความเข้าใจในเรื่องของสีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีความสดใสสวยงาม น่าสนใจ และมีบทบาทในการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะและมีคูณภาพอีกด้วย ดั้งนั้น การเลือกใช้สีควรจะได้ศึกษา
........5.3 ขียนภาพการ์ตูน
สำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความปราณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นวัยที่รู้ความใสวยงามของธรรมชาติและสัตว์ได้เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ๑๑ - ๑๖ ขวบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างจะต้องระดมความเพียรในการเขียนภาพประกอบหนังสือให้เขาด้วยความรู้สึกนึกคิดที่สุขุมรอบคอบอย่างยิ่งเป็นพิเศษ เด็กระยะนี้กำลังจะถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตความ
ตัวอักษรมนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ตัวอักษรสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อทางการติดต่อ ตัวอักษรสมัยโบราณส่วนมากจะวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น อักษรของอียิปต์ ชื่อว่าอักษรไฮเออโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ประมาณ 6,000 ปีล่วงมาแล้ว ยังมีอักษรที่เรียกว่า “อักษรลิ่ม” (Cuneiform) ของชาวซูเมอร์เรียน ซึ่งมีความเก่าแก่เท่า ๆ กันกับอักษรของอียิปต์โบราณ ระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นเอง ในทวีปเอเซีย ประเทศจีน และอินเดีย ก็ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้


สื่อราคาเยานอกจากจะหมายถึง สื่อที่มีราคาถูกแล้วยังหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ต้องซื้อหาด้วยราคาแพง สิ่งที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นด้วยวัสดุราคาถูก หรือหาได้ง่าย รวมถึงสื่อสิ่งของได้เปล่าจากการแจกจ่ายเผยแพร่ของหน่วยงาน
........6.2
หลักการออกแบบและการสร้างสื่อราคาเยา
ตัวอย่างการเลือกสื่อการสอนที่พบเห็นได้เสมอ เช่นครูสอนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับจำนวน การบวก การลบ และต้องการวัสดุเป็นชิ้น ๆ ก้อน ๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือนับจำนวน แทนที่ครูจะนึกถึงก้อนดิน หิน หรือวัสดุอื่นอีกมาก ที่หาได้ไม่ยากในท้องถิ่น มาให้นักเรียนนับ แต่ครูกลับนึกถึงก้อนแม่เหล็กเป็นอันดับแรก และพยายามเรียกร้องให้มีการจัดซื้อกระดานแม่เหล็กมาใช้สอนนับจำนวน กรณีเช่นนี้เราได้นับจำนวนก้อนหินดูจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าการนับชิ้นส่วนบนกระดานแม่เหล็กเสียอีก ถ้าก้อนหินหาได้ง่ายนักเรียนทุกคนสามารถหามาได้ง่าย เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
........6.3 วัสดุกับเทคนิคการออกแบบ
การประเมินสื่อการเรียนการสอนราคาเยา1. ความจำเป็นด้านเศรษฐกิจของชาติ ในข้อนี้นักศึกษาตลอดถึงครูผู้สอน ผู้บริหารการศึกษาทั้งหลายย่อมทราบและตระหนักกันอยู่แล้วว่าประเทศของเรา เป็นประเทศกำลังพัฒนาหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุน เพื่อการพัฒนาไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ต้องกู้เงินจากต่างประเทศปีละมาก ๆ ต้องจ่ายเงินกลับให้ต่างชาติรวมเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินมหาศาล ในด้านการศึกษาเองก็มีโครงการที่กู้เงินจากต่างประเทศมาดำเนินการอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อสภาพการณ์ เป็นเช่นนี้ การพิจารณาจัดหาสื่อหรือ เทคโนโลยีการศึกษามาใช้จึงควรคำนึงถึงเรื่องการประหยัดไว้ให้มาก


CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
........7.2
การใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน
ตามกระแสการเปลี่ยนสังคมที่ต้องมีความรู้ใหม่เป็นหลักฐานการเรียนรู้เทคโนโลยีและการเก็บความรูั้ใหม่จึงเป็นสิ่งที่ เราขาดไม่ได้ สถาบันการศึกษาและครูมีบทบาทมากขึ้นเพราะต้องเตรียมการเรียนการสอนเพื่อส่งนักเรียนให้เข้าทำงาน ในสังคมใหม่ สมาคม APEC เพื่อการศึกษาทางอินเตอร์เนตจัดทำไว้เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวของนักเรียน และครู
เมื่อต้นปี 2001 มูลนิธิการศึกษา APEC รับเสนอโครงการทำกิจกการที่จะทำให้ลดความต่างระดับการศึกษา เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและดิจิตอล ทั้งนี้เพื่อมูลนิธิการศึกษา APEC จะสนับสนุนทางด้านงบประมาณให้ ทั้งหมด 79 สถาบันเสนอโคงการมา และในที่สุด 4 สถาบันได้รับการคัดเลือกเป็นสถาบันที่จะได้รับงบประมาณมูลค่า 60 ล้านดอลล่า สหรัฐ แต่เนื่องจากโครงการของสถาบันดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกันมากมูลนิธิการศึกษา APEC จึงเสนอให้สถาบัน ดังกล่าวจัดเป็นสมาคม (consortium) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำกิจการ

หน่วยที่ 8 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

........8.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์

การสร้างสรรค์งานสิ่งพิมพ์ ในรูปแบบต่างๆ ต้องทำความรู้จักกับรายละเอียดเบื้องต้นที่จำเป็นก่อน โดยการบวนการผลิตงานสิ่งพิมพ์จะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ เช่น การจัดเตรียมไฟล์งาน การจัดการกับรูปภาพ การเลือกกระดาษ การออกแบบรูปลักษณ์ หรือรูปเล่ม การจัดหน้า เพื่อให้ใด้ผลงานตามรูปแบบที่ต้องการ
........8.2
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์

นิตยสาร(Magazine) มีลักษณะ ดังนี้
1. มีระยะเวลาเผยแพร่แน่นอน
2. เป็นหนังสือเย็บเล่ม
3. มีเนื้อหาหลากหลาย/เฉพาะกลุ่ม
4. ดำเนินงานเป็นองค์กร
5. ถ้าเกี่ยวกับวิชาการมักเรียกว่า วารสาร
(Journal
........8.3
ระบบการพิมพ์

ในโลกนี้มีอยู่หลายอย่างค่ะ แต่ที่จะแนะนำนี่เป็นระบบที่นิยมใช้ในบ้านเรา
1. ระบบออฟเซ็ตระบบออฟเซ็ต เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สมุดหนังสือ ใบปลิว โปสเตอร์ ใบเสร็จ ล้วนแต่พิมพ์ด้วยระบบนี้ทั้งนั้น เพราะพิมพ์ได้สวยงาม พิมพ์ภาพได้ดี พิมพ์สี่สีก็สวย เหมาะสำหรับงานที่ยอดพิมพ์สูงๆ ควรจะหลายพันหรือเป็นหมื่นขึ้นไปจึงจะคุ้ม เพราะแม่พิมพ์มีราคาแพง พิมพ์สิบใบก็ได้ แต่ราคาต่อใบจะสูงมาก
2. ระบบซิลค์สกรีนการพิมพ์ซิลค์สกรีนพิมพ์ภาพได้ไม้ค่อนดี เหมาะกับงานลายเส้น งานที่มียอดพิมพ์น้อย งานพิมพ์บนวัสดุที่พิมพ์ยาก เช่น สติกเกอร์ ไม้ แก้ว หนัง ผ้าและแผ่นซีดีอะไรพวกนี้แหละค่ะ อ้อ ... นิยมใช้พิมพ์นามบัตรด้วยคะ เพราะนามบัตรยอดพิมพ์น้อย
3. การพิมพ์โรเนียวแบบดิจิตอล
........8.4
การเลือกและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน

การพิมพ์จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการนำมาใช้ผลิตสำเนาเอกสารทางวิชาการซึ่งต้องการปริมาณมาก เช่น หนังสือ ตำราต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน หรือเพื่อใช้เป็นคู่มือ เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ทั้งยังช่วยในการเผยแพร่ ความคิดทางด้าน วิทยาการต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าอีกด้วย ในการให้การศึกษาจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อขยายความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น





........................................







มารู้จัก CAI

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เนื่องจากความนิยมแพร่หลายมากขึ้นของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบัน จึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เป็นแนวคิดใหม่ซึ่งเกิดขึ้นมาไม่มากนัก สำหรับประเทศไทยนั้นได้มีแนวคิดในการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเข้าไปใช้ในโรงเรียน ตั้งแต่ พ.ศ.2525-2530 การพัฒนาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในประเทศไทยเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่องนัก เนื่องจากปัญหาทางด้านต่างๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงประวัติความเป็นมา ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นพัฒนาการระยะต่างๆ

ประโยชน์ CAI

ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการเรียนการสอนมาก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะสามารถนำมาใช้เป็นสื่อในการสอน หรือจะใช้เป็นสื่อช่วยในการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. ผู้เรียนเรียนได้ตามความช้าเร็วของตนเอง ทำให้สามารถควบคุมอัตราเร่งของการเรียนได้
2. การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่รวดเร็ว
3. สามารถเอาเสียงดนตรี สีสัน กราฟิก และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้ดูเหมือนของจริงและน่าเร้าใจ
4. ครูผู้สอนสามารถควบคุมการเรียนของผู้เรียนได้ เพราะคอมพิวเตอร์จะบันทึกการเรียนของผู้เรียนแต่ละ บุคคลไว้
5. ความใหม่แปลกของคอมพิวเตอร์จะเพิ่มความสนใจความตั้งใจของผู้เรียนมากขึ้น
6. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพ คือ ในแง่ที่ลดเวลา ทุ่นแรงผู้สอนและประสิทธิผล แง่ที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย
7. ด้านความรู้สึก ผู้เรียนมีความรู้สึกว่าตนเองกำลังเรียนหรือกำลังพูดคุยกับใครคนหนึ่งที่มีความรู้สึก มี อารมณ์ขันมีความชอบไม่ชอบใจ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้เรียนเกิดความอยากจะเรียนอยากทราบว่า เฟรมต่อไป จะเป็นอะไรถามว่าอย่างไรจะชมหรือติอย่างไร
8. บทเรียนคอมพิวเตอร์ดีกว่าสื่ออื่นในด้านความสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
9. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้รายบุคคลได้ดีสนองความต้องการระหว่างบุคคล เพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความต้องการของตนเอง
10. ความประหยัดในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการลงทุนเพียงครั้งเดียวสามารถใช้งานได้หลายครั้ง เป็นเวลายาวนานและถูกมากในการทำสำเนาบทเรียน 11. สามารถเก็บบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนได้ง่าย
12. ให้โอกาสในการสร้างสรรค์และพัฒนาวัตกรรมสำหรับหลักสูตร และวัสดุการศึกษา
13. เพิ่มวิชาสอนตามความต้องการของนักเรียน
14. ช่วยให้มีเวลาสำหรับตรวจสอบและพัฒนาหลักสูตร ตามหลัก
15. ช่วยเพิ่มวัตถุประสงค์ของการสอนได้เท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การฝึกฟังดนตรี ฯลฯ
16. เร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะนำเสนอได้ทั้งภาพและเสียง ตลอดจน มีการเสริมแรงให้ผลย้อนกลับ ในทันที เมื่อผู้เรียนตอบคำถาม
17. ช่วยแบ่งเบาภาระของครูผู้สอน

CAI กับการเรียนรู้ของคนไทย

CAIมาจากคำว่า"ComputerAidedInstruction"หรือบางแหล่งอาจจะใช้คำว่า"Computer AssistedInsturction"โดยมีการใช้คำในภาษาไทยว่า"สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน" เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยนำเอาสื่อคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ซึ่งก็คือ สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้จริงๆ แล้วคำว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน" ไม่ได้มีความหมายที่ CAI แต่ยังรวมถึงคำอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นคำใด ต่างก็มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ Information ต้องมีเนื้อหาสาระสำคัญ Individualized ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล Interactive ต้องมีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับบทเรียนได้ Immediate Feedback ต้องให้ผลย้อนกลับ
โดยทันทีเหตุผลสำคัญที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอนในรูปของ CAI ได้แก่ เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว ประเมินการตอบสนองของผู้เรียนได้แก่ การตัดสินคำตอบให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนนให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไปดังนั้นสามารถสรุปประโยชน์ของ CAI ได้ดังนี สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียนฯ มีโอกาสเลือก ตัดสินใจและได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อคนเอง ต้องควบคุมการเรียนด้วยตนเอง มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน และเสริมแรงให้อยากเรียนต่อให้ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้ หรือช่วยผู้เรียนคนอื่นที่เรียนก่อน ประหยัดเวลา และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มีประสบการณ์สูง หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบทเพราะสามารถส่งบทเรียนฯไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การจัดลำดับความสำคัญ เพื่อผลสำเร็จ

การจัดลำดับความสำคัญเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องจัดแจงโดยด่วน นับว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยควบคุมตัวคุณให้ดูแลรับผิดชอบงานได้ดีขึ้น เพื่อที่จะจัดลำดับความสำคัญได้อย่างมีประสิทธิผลนั้น คุณต้องเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างสิ่งต่อไปนี้เสียก่อน นั่นคือ ความสำคัญ ความเร่งด่วนและความไม่จำเป็นนัก แต่ดูเหมือนว่าทุกสิ่งอย่างเร่งด่วนและต้องทำก่อนเป็นสิ่งแรกตลอดเวลา แต่ก็ไม่จำเป็นต้องขนาดนั้น หาก คุณไม่มีการวางแผนและการจัดลำดับความสำคัญที่ดีไว้ก่อน ซึ่งสถานการณ์ด่วนจี๋เหล่านั้น จะกลายเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยเลยทีเดียว ขั้นตอนแรกในการจัดลำดับความสำคัญก็คือ คุณต้องเลือกงานทั้งหลายในมือมาพิจารณาว่างานใดจะต้องทำในวันรุ่งขึ้นบ้าง งานเหล่านี้จะมาจากรายการหลักทั้งหมดและงานใหม่ที่เกิดขึ้นในระหว่างวันซึ่งได้รับจากทางโทรศัพท์ งานใหม่จริง ๆ และทางจดหมาย รายการลักษณะนี้ถือเป็นรายการงานรายวัน ที่จะต้องทำ

สรุป “ใช้เวลาสัก 15 นาที ตอนสิ้นวัน เพื่อเตรียมทำรายการงานที่จะต้องทำในวันรุ่งขึ้น” ขั้นตอนต่อจากการจัดลำดับความสำคัญของงานตามรายการแล้วก็คือ ให้เลือกงานที่สำคัญที่สุด 3 งาน ที่จะต้องทำให้เสร็จก่อน ไม่ว่าจะเกิดอะไรในระหว่างวันนั้นก็ตาม ใส่หมายเลขเรียงตามความสำคัญ 1,2 และ 3 ตามลำดับ ในระหว่างวันอาจมีหลายวิกฤตการณ์ผุดขึ้นมากวนใจอย่างไม่คาดคิด หรือมีหลากหลายสิ่งอย่างเกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้ก่อน และจะต้องใช้เวลาจัดการกับมันอยู่ดี แต่ ต้องไม่ทำให้เราละทิ้ง 3 งานสำคัญหลักที่จัดลำดับไว้อย่างเด็ดขาด อย่าลืมว่า 3 งานหลักนั้นจะต้องดูแลและจัดการให้ได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

สรุป “เลือกงานที่สำคัญที่สุด 3 งานที่จะต้องทำให้เสร็จไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น” หลังจากคุณบ่งชี้ 3 งานหลักที่ต้องจัดการแล้ว ขั้นตอนต่อมาอีกก็คือ ต้องดูแลงานที่ต้องทำที่มีความสำคัญเป็นอันดับสอง นั่นคือ กลุ่มงานที่มีหมายเลขความสำคัญลำดับ 4,5 และ 6 ของคุณ อย่างไรก็ตามงานเหล่านี้ต้องทำหลังจาก 3 งานสำคัญหลักเสร็จสิ้นก่อน เพราะอย่าลืมว่าคุณตัดสินให้ความสำคัญเป็นอันดับรองลงมานั่นเองแค่คุณติดตามขั้นตอนตามใบรายการ (“To Do” list) เพื่อควบคุมให้ดำเนินความผังรายการเท่านั้นก็เป็นพอ แต่ต้องพยายามทำให้ใบรายการเล็กเข้าไว้ ไม่ควรเกิน 8 รายการของงาน แล้วทำใบรายการรายวันที่จะต้องทำ ตอนที่กาหรือขีดฆ่างานที่ทำเสร็จแล้วออกจากรายการ คุณจะรู้สึกได้ถึงความสำเร็จของตน ต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าคุณไม่สามารถทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียวได้ สิ่งที่ไม่อยู่ในลำดับความสำคัญสูงสุดของวันนี้อาจเป็นลำดับต้น ๆ ปรากฏในใบรายการของวันรุ่งขึ้นก็ได้ ถ้าหากคุณจัดการในวันเดียวได้ถึง 6 รายการในใบรายการได้ ขอให้ภูมิใจได้ว่าวันนั้นคุณทำงานได้มากทีเดียว คุณอาจมีคำถามในใจว่าแค่ 5-6 งาน ตัวคุณทำได้ตามมาตรฐานหรือไม่ เพราะในแต่ละวันมีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นซึ่งไม่ได้มีการวางแผนไว้ก่อน คอยมาแทรกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นให้เปรียบเทียบดังนี้ 5-6 งานที่ทำได้ในแต่ละวันนั้นเท่ากับว่าคุณทำได้ถึง 25-30 งานในหนึ่งสัปดาห์ทีเดียว


สรุป “คุณไม่สามารถทำทุกอย่างได้ภายในวันเดียว” การจัดลำดับความสำคัญนั้นทำให้คุณรู้ได้ว่า ทุก ๆ วันจะมีงานสำคัญ ๆ 3 งาน ที่จะต้องจัดการให้เสร็จก่อนเริ่มต้นทำงานในเช้าวันใหม่ที่จะมาถึง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดการกับงานเหล่านั้นคือ พันธะสัญญาของคุณเอง คือคุณต้องพยายามหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อมาระงับยับยั้งนิสัยไม่ดีเก่า ๆ ของคุณเองให้จงได้ ด้วยวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ที่เล่ามาทั้งหมดข้างต้นเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่สามารถเรียนรู้ได้และรับรองได้ว่าใช้ได้จริงและช่วยให้งานของคุณง่ายขึ้น จะสังเกตได้อีกอย่างหนึ่งคือ คุณจะคลายความเครียดลงได้มากทีเดียว


สรุป “เลือกงานที่สำคัญที่สุด 3 งานที่จะต้องทำให้เสร็จไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น” หลังจากคุณบ่งชี้ 3 งานหลักที่ต้องจัดการแล้ว ขั้นตอนต่อมาอีกก็คือ ต้องดูแลงานที่ต้องทำที่มีความสำคัญเป็นอันดับสอง นั่นคือ กลุ่มงานที่มีหมายเลขความสำคัญลำดับ 4,5 และ 6 ของคุณ อย่างไรก็ตามงานเหล่านี้ต้องทำหลังจาก 3 งานสำคัญหลักเสร็จสิ้นก่อน เพราะอย่าลืมว่าคุณตัดสินให้ความสำคัญเป็นอันดับรองลงมานั่นเองแค่คุณติดตามขั้นตอนตามใบรายการ (“To Do” list) เพื่อควบคุมให้ดำเนินความผังรายการเท่านั้นก็เป็นพอ แต่ต้องพยายามทำให้ใบรายการเล็กเข้าไว้ ไม่ควรเกิน 8 รายการของงาน แล้วทำใบรายการรายวันที่จะต้องทำ ตอนที่กาหรือขีดฆ่างานที่ทำเสร็จแล้วออกจากรายการ คุณจะรู้สึกได้ถึงความสำเร็จของตน ต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าคุณไม่สามารถทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียวได้ สิ่งที่ไม่อยู่ในลำดับความสำคัญสูงสุดของวันนี้อาจเป็นลำดับต้น ๆ ปรากฏในใบรายการของวันรุ่งขึ้นก็ได้ ถ้าหากคุณจัดการในวันเดียวได้ถึง 6 รายการในใบรายการได้ ขอให้ภูมิใจได้ว่าวันนั้นคุณทำงานได้มากทีเดียว คุณอาจมีคำถามในใจว่าแค่ 5-6 งาน ตัวคุณทำได้ตามมาตรฐานหรือไม่ เพราะในแต่ละวันมีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นซึ่งไม่ได้มีการวางแผนไว้ก่อน คอยมาแทรกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นให้เปรียบเทียบดังนี้ 5-6 งานที่ทำได้ในแต่ละวันนั้นเท่ากับว่าคุณทำได้ถึง 25-30 งานในหนึ่งสัปดาห์ทีเดียว

สรุป “คุณไม่สามารถทำทุกอย่างได้ภายในวันเดียว” การจัดลำดับความสำคัญนั้นทำให้คุณรู้ได้ว่า ทุก ๆ วันจะมีงานสำคัญ ๆ 3 งาน ที่จะต้องจัดการให้เสร็จก่อนเริ่มต้นทำงานในเช้าวันใหม่ที่จะมาถึง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดการกับงานเหล่านั้นคือ พันธะสัญญาของคุณเอง คือคุณต้องพยายามหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อมาระงับยับยั้งนิสัยไม่ดีเก่า ๆ ของคุณเองให้จงได้ ด้วยวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ที่เล่ามาทั้งหมดข้างต้นเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่สามารถเรียนรู้ได้และรับรองได้ว่าใช้ได้จริงและช่วยให้งานของคุณง่ายขึ้น จะสังเกตได้อีกอย่างหนึ่งคือ คุณจะคลายความเครียดลงได้มากทีเดียว

การดูแลตนเองของผู้ดูแลแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ด้านดังนี้

1. การดูแลตนเอง ( Self - care ) การดูแลขั้นนี้เจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขจะต้องมีการวางแผนและตรวจสอบภาวะสุขภาพผู้ดูแลตระหนักในภาวะสุขภาพตนเองก่อน เปิดโอกาสให้ผู้ดูแลพูดคุยถึงภาวะสุขภาพของตนเอง โดยเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพจะเป็นผู้เสนอการให้การช่วยเหลือ ปรับปรุง หรือผดุงภาวะสุขภาพของผู้ดูแลหมั่นดูแลภาวะสุขภาพร่างกายของตนเอง

2. การดูแลภาวะสุขภาพร่างกาย ( Physical health) การรับประทานอาหาร ผู้ดูแลส่วนใหญ่จะเตรียมอาหารที่ดีที่สุดให้ผู้ป่วย โดยลืมใส่ใจในเรื่องการเตรียมอาหารสำหรับตนเอง ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ผู้ดูแลควรจะหาเวลาสำหรับตนเองในการเตรียมอาหาร การนั่งรับประทานอาหารอย่างมีความสุข อาหารก็ควรเตรียมมาจากอาหารที่สดและใหม่ ประกอบด้วยสารอาหารครบ 5 หมู่ อาหารที่มีเส้นใยมาก ควรทานวันละ 3 มื้อ ทานเพียงแต่พอประมาณ และไม่ควรทานอาหารหนักในมื้อเย็น

3. การออกกำลังกาย ( Exercise ) แม้ว่าการทำงานบ้านก็ถือว่าเป็นการออกกำลังอย่างหนึ่ง แต่อาจไม่เพียงพอควรมีการออกกำลังที่เป็นจังหวะติดต่อกันอย่างน้อยครั้งละ 20 - 30 นาที่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และทำให้กล้ามเนื้อกระชับเพิ่มขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย และยังเป็นการผ่อนคลายอารมณ์อีกด้วย เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ ส่วนการเล่นเทนนิส สควอสต์ การเต้นแอโรบิค อาจไม่เหมาะสมและเป็นอันตรายต่อผู้ดูแลที่สูงอายุได้

4. อาการปวดหลัง ( Backache ) ผู้ดูแลส่วนใหญ่มักบ่นว่ามีอาการปวดหลัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนย้าย การยกตัว ผู้ป่วยโดยใช้วิธีไม่ถูกต้อง และเกินกำลังของตัวเอง อย่างไรก็ตาม อาการปวดหลังนั้นมักเป็นสาเหตุมาจากภาวะจิตใจ (Psychosomatic) การแสดงออกของอาการนี้จะสื่อ ให้ทราบว่า ภาวะที่ ผู้ดูแลรับไว้นั้นนับวันจะเพิ่มมากขึ้น บางครั้ง ก็ไม่จำเป็น ที่จะให้แพทย์ตรวจอาการเพื่อดูอาการ เนื่องจากพบสิ่งผิดปกติ อาการปวดหลังยังเป็นอาการแสดงออกที่มีสาเหตุเนื่องมาจาก ภาวะเครียด ซึ่งเป็นอาการเตือนที่บ่งชี้ว่า ผู้ดูแลต้องการการหยุดพัก จากภาระนั้นๆ ซึ่งมักจะพบในรายที่ผู้ดูแลผู้ป่วยเพียงตามลำพัง เจ้าหน้าที่ควรให้การแนะนำเรื่องวิธีการยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่ถูกต้อง เช่น การยกตัว ผู้ป่วยโดยเข้าทางด้านหลังมากกว่าเข้าทางด้านหน้าหรือดูยกตัวอย่างจากนักกีฬายกน้ำหนัก โดยการงอเข่า แต่หลังยังยืนตรงขณะยก เพื่อป้องกันการปวดหลัง

5 การนอนหลับ (Sleep) ปกติแล้วคนเราต้องการเวลานอนหลับ 6-8ชั่วโมง ต่อคืน อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะเป็นคนเตือนเอง หากว่าได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ เช่นมีอารมณ์หงุดหงิด การอดนอนเป็นบางคืนอาจจะ ไม่มีผลกระทบต่อร่างกายมากเท่าไหร่ สามารถนอนชดเชยได้ ภายหลัง แต่การที่ต้องอดนอนเป็นประจำ เนื่องจากต้องดูแลผู้ป่วย จะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอย่างแน่นอน ดังนั้นควรแนะนำให้ผู้ดูแลหาเวลาพักผ่อนนอนหลับเป็นประจำทุกวัน เตือนผู้ดูแลไม่ให้ใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยานอนหลับ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะใช้ได้ผลในระยะแรก แต่อาจทำให้ตื่นนอนตอนกลางคืน และทำให้มีอาการกระวนกระวายหรือทำให้ต้องตื่นเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ส่วนยานอนหลับ อาจสามารถใช้ได้เป็นครั้งคราว แต่ถ้าผู้ดูแลมีปัญหาเรื่องการนอนหลับทุกคืนควรรีบปรึกษาแพทย์

6 ภาวะจิตใจ (Mental status) แนะนำให้ผู้ดูแลสังเกตภาวะทางด้านสุขภาพจิตของตนเองให้ถามว่าตอนนี้ตนเองหัวเราะหรือยิ้มบ้างหรือเปล่ามีความรู้สึกกระตือรือร้นไหม การนอนหลับถูกรบกวนไหม มีอารมณ์สดชื่นเวลาตื่นนอนในตอนเช้าไหม เป็นคนหงุดหงิดโมโหง่ายหรือไม่และรู้สึกอยากหนีจากสิ่งเหล่านั้นหรือไม่ ปกติคนเราอาจมีความรู้สึกเหล่านี้เป็นบางครั้ง ในช่วงระยะเวลาสั้นได้ แต่ถ้าเป็นในระยะเวลานาน ก็จะทำให้สุขภาพจิตเสียไปได้เช่นกัน ดังนั้นหากมีความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้น ควรแนะนำให้ผู้ดูแลพยายามพูดคุยระบายกับเพื่อนหรือคนที่เข้าใจและไว้ใจได้ และผู้ดูแลควรสังเกตว่าตนเองเริ่มติดยาระงับประสาทเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ รับประทานอาหารจุ แม้กระทั่งยานอนหลับ หรือไม่หากสังเกตได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ โดยใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นหลังจากใช้ปริมาณน้อยๆเริ่มไม้ได้ผลให้พึงระวังไว้ว่าตนเองเริ่มมีอาการติดแล้วให้รีบปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

7 ภาวะเครียด ( Stress ) ภาวะเครียดคืออะไร สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรทำความเข้าใจก็คือ หากผู้ดูแลรู้สึกเครียดนั่นก็คือ ผู้ดูแลกำลังตกอยู่ใต้ภาวะเครียดนั่นเอง อย่างไรก็ตามเราจะถือว่าเป็นภาวะเครียดที่แท้จริงหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับผู้ดูแลที่จะพินิจพิเคราะห์ตนเองว่ากำลังตกอยู่ภายใต้ภาวะเครียดหรือไม่ โดยปกติแล้ว ถ้าภาวะเครียดเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ ร่างกายจะสามารถจัดการได้ จริง ๆ แล้ว ภาวะเครียดเล็ก ๆน้อย ๆ จะช่วยทำให้เรามีภาวะตื่นตัว ( alert ) อยู่เสมอ และมีสุขภาพดีหากปราศจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการท้าทายแล้ว เราก็จะเป็นคนเฉื่อยชา อย่างไรก็ตาม หากมีการเครียดนาน ๆ จะทำให้เราเกิดความอ่อนเพลียถาวร จะส่งผลกระทบถึง การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันดูเหมือนต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้น - สูญเสียความรู้สึกในการประมาณขนาด เช่นปัญหาเล็ก ๆ ก็รู้สึกเหมือนว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่ - รู้สึกไม่สามารถเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ได้ - ไม่สนุกสนาน ร่าเริง - มีปัญหาในการนอนหลับ ในช่วงที่มีภาวะเครียด จะมีการปรับตัว ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดปัญหาโรคหัวใจ
แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ลองเข้าไปทดสอบดูไหมคะ
8. อาการหงุดหงิดรำคาญ ( Irritability ) เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ดูแลจะมีอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลอาจมีอารมณ์หงุดหงิดรำคาญผู้ป่วย แต่พอผ่านไปสักพักก็มักจะรู้สึกเสียใจกับอารมณ์ของตนเองที่แสดงออกมาและมักจะโทษตัวเองอยู่เสมอในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มักจะถาม ถามคำถามเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า จำอะไรไม่ได้ มีพฤติกรรมแปลกๆ มักจะเป็นสาเหตุให้ผู้ดูแลหงุดหงิดรำคาญใจ ในขณะเดียวกันผู้ดูแลจะมีความรู้สึกสงสาร และเสียใจกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย บ่อยครั้งที่ผู้ดูแลมักจะมีความรู้สึกว่าผู้ป่วยบางครั้งเป็นญาติผู้ใหญ่ที่เคยให้ความเคารพรักนั้นไม่ใช่คนเดิม มีอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแต่อาการเหล่านี้อาจไม่ปรากฏให้คนอื่นๆเห็นแม้กระทั่งแพทย์บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการดีต่อหน้าแพทย์และคนอื่นซึ่งมักทำให้น้อยคนที่จะเข้าใจสภาวะที่ผู้ดูแลกำลังเผชิญอยู่