ชุดคำถามที่ 1 หมวด เคล็ดลับแม่บ้าน
1. ไข่ขาวสามารถใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวกได้ จริงหรือ เฉลย จริง โดยใช้ไข่ขาว มาทาที่น้ำร้อนลวกให้ทั่วทิ้งไว้จนแห้ง ไปเอง แล้วรอสักพักใหญ่ๆ จึงล้างออกจะไม่มีรอยแดง หรือพองเลย ข้อสำคัญ ก่อนทาไข่ขาวอย่าให้ถูกน้ำเย็นหรือของอื่นเลย และอย่าไปแกะ หรือเกาตอนที่ใกล้จะแห้ง เพราะจะทำให้หนังถลอก
2. ยาหม่องสามารถใช้ขจัดหมากฝรั่งเปื้อนผ้าได้ จริงหรือ เฉลย จริง โดยการใช้ยาหม่องถูตรงยางเหนียวๆ ของหมากฝรั่งไปมา ไม่นานยางของหมากฝรั่งก็จะหลุดออกหมด แล้วจึงนำผ้าไปซักตามปกติ
3. ใส่หลอดในขวดซอสมะเขือเทศจะทำให้เทออกง่าย จริงหรือ เฉลย จริง โดยการใส่หลอดลงไปให้ลึกถึงก้นขวด เพื่อให้อากาศสามารถแทรกผ่าน เข้าไปในขวดได้ แล้วเทซอสมะเขือเทศ ก็จะไหลออกมาง่ายขึ้น
4. ถุงน่องแช่น้ำเกลือช่วยให้ถุงน่องไม่ขาดง่าย จริงหรือ เฉลย จริง โดยการนำเกลือ 2 ถ้วยผสมกับน้ำ 1 แกลอน แช่ถุงน่องใหม่ไว้นาน 3 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำเย็น ยกถุงน่องขึ้น มาตากให้น้ำหยดจนแห้ง ก็จะทำให้ถุงน่องคงสภาพ และเหนียวทนนาน
5. มันฝรั่งกำจัดกลิ่นปลาร้าติดมือได้ จริงหรือ เฉลย ไม่จริง แต่มันฝรั่งสามารถกำจัดกลิ่นหัวหอมติดมือได้ โดยการนำมันฝรั่งที่ปอกแล้ว มาถูมือที่มีกลิ่นหัวหอมติดอยู่ กลิ่นหัวหอมก็จะค่อยๆ จางหายไป
6. พริกแห้งใช้ไล่แมลงวันได้ จริงหรือ เฉลย จริง เวลาตากของแห้งไว้ จะมีแมลงวันมาตอม ให้เอาพริกแห้ง 5 - 6 เม็ด เสียบไว้รอบกระด้ง ไอร้อนของพริก จะทำให้แมลงวันไม่กล้าเข้าใกล้
7. เบียร์ช่วยคลายเกลียวขึ้นสนิมได้ เฉลย จริง ให้รินเบียร์ลงไปบนเกลียวขึ้นสนิมนิดหน่อย รอ 2-3 นาที ความเป็นกรดของเบียร์ จะช่วยขจัดสิ่งสกปรก และเศษสนิม ทำให้เกลียวหมุนเปิดได้ง่ายขึ้น
8. เอาผ้าไหมแช่ช่องแข็งจะทำให้รีดง่าย จริงหรือ เฉลย จริง การรีดผ้าไหม ควรใช้ไฟอ่อนๆ เพราะผ้าไหมจะไหม้เกลียม หรือเป็นสีเหลืองได้ง่าย แต่ถ้าผ้าไหมยับมาก ก่อนรีดควรฉีดพรมน้ำยาให้ทั่ว แล้วพับใส่ถุงพลาสติก นำไปแช่ในช่องแข็งของตู้เย็น ประมาณ 10 -15 นาที แล้วจึงนำออกมารีด จะทำให้รีดผ้าไหมได้ง่าย และเรียบยิ่ขึ้น
9. นำเหรียญสลึงใส่แจกันช่วยให้ดอกไม้ไม่เหี่ยวเฉาได้ จริงหรือ เฉลย จริง โดยให้หย่อนเหรียญสลึงลงไปในแจกัน ส่วนผสมที่เป็นทองแดงในเหรียญ จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ดอกไม้เหี่ยวเฉา
10. ใบฝรั่งช่วยดูดกลิ่นได้ จริงหรือ เฉลย จริง โดยให้นำใบฝรั่งมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ แยกกากใบออก น้ำมันหอมระเหยที่ได้ จะทำหน้าที่ดับกลิ่น ส่วนกากใบที่ได้ให้นำไปวางไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อช่วยดูดกลิ่นได้
วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การดูแลตนเองของผู้ดูแลแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ด้านดังนี้
1. การดูแลตนเอง ( Self - care ) การดูแลขั้นนี้เจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขจะต้องมีการวางแผนและตรวจสอบภาวะสุขภาพผู้ดูแลตระหนักในภาวะสุขภาพตนเองก่อน เปิดโอกาสให้ผู้ดูแลพูดคุยถึงภาวะสุขภาพของตนเอง โดยเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพจะเป็นผู้เสนอการให้การช่วยเหลือ ปรับปรุง หรือผดุงภาวะสุขภาพของผู้ดูแลหมั่นดูแลภาวะสุขภาพร่างกายของตนเอง
2. การดูแลภาวะสุขภาพร่างกาย ( Physical health) การรับประทานอาหาร ผู้ดูแลส่วนใหญ่จะเตรียมอาหารที่ดีที่สุดให้ผู้ป่วย โดยลืมใส่ใจในเรื่องการเตรียมอาหารสำหรับตนเอง ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ผู้ดูแลควรจะหาเวลาสำหรับตนเองในการเตรียมอาหาร การนั่งรับประทานอาหารอย่างมีความสุข อาหารก็ควรเตรียมมาจากอาหารที่สดและใหม่ ประกอบด้วยสารอาหารครบ 5 หมู่ อาหารที่มีเส้นใยมาก ควรทานวันละ 3 มื้อ ทานเพียงแต่พอประมาณ และไม่ควรทานอาหารหนักในมื้อเย็น
3. การออกกำลังกาย ( Exercise ) แม้ว่าการทำงานบ้านก็ถือว่าเป็นการออกกำลังอย่างหนึ่ง แต่อาจไม่เพียงพอควรมีการออกกำลังที่เป็นจังหวะติดต่อกันอย่างน้อยครั้งละ 20 - 30 นาที่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และทำให้กล้ามเนื้อกระชับเพิ่มขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย และยังเป็นการผ่อนคลายอารมณ์อีกด้วย เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ ส่วนการเล่นเทนนิส สควอสต์ การเต้นแอโรบิค อาจไม่เหมาะสมและเป็นอันตรายต่อผู้ดูแลที่สูงอายุได้
4. อาการปวดหลัง ( Backache ) ผู้ดูแลส่วนใหญ่มักบ่นว่ามีอาการปวดหลัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนย้าย การยกตัว ผู้ป่วยโดยใช้วิธีไม่ถูกต้อง และเกินกำลังของตัวเอง อย่างไรก็ตาม อาการปวดหลังนั้นมักเป็นสาเหตุมาจากภาวะจิตใจ (Psychosomatic) การแสดงออกของอาการนี้จะสื่อ ให้ทราบว่า ภาวะที่ ผู้ดูแลรับไว้นั้นนับวันจะเพิ่มมากขึ้น บางครั้ง ก็ไม่จำเป็น ที่จะให้แพทย์ตรวจอาการเพื่อดูอาการ เนื่องจากพบสิ่งผิดปกติ อาการปวดหลังยังเป็นอาการแสดงออกที่มีสาเหตุเนื่องมาจาก ภาวะเครียด ซึ่งเป็นอาการเตือนที่บ่งชี้ว่า ผู้ดูแลต้องการการหยุดพัก จากภาระนั้นๆ ซึ่งมักจะพบในรายที่ผู้ดูแลผู้ป่วยเพียงตามลำพัง เจ้าหน้าที่ควรให้การแนะนำเรื่องวิธีการยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่ถูกต้อง เช่น การยกตัว ผู้ป่วยโดยเข้าทางด้านหลังมากกว่าเข้าทางด้านหน้าหรือดูยกตัวอย่างจากนักกีฬายกน้ำหนัก โดยการงอเข่า แต่หลังยังยืนตรงขณะยก เพื่อป้องกันการปวดหลัง
5 การนอนหลับ (Sleep) ปกติแล้วคนเราต้องการเวลานอนหลับ 6-8ชั่วโมง ต่อคืน อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะเป็นคนเตือนเอง หากว่าได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ เช่นมีอารมณ์หงุดหงิด การอดนอนเป็นบางคืนอาจจะ ไม่มีผลกระทบต่อร่างกายมากเท่าไหร่ สามารถนอนชดเชยได้ ภายหลัง แต่การที่ต้องอดนอนเป็นประจำ เนื่องจากต้องดูแลผู้ป่วย จะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอย่างแน่นอน ดังนั้นควรแนะนำให้ผู้ดูแลหาเวลาพักผ่อนนอนหลับเป็นประจำทุกวัน เตือนผู้ดูแลไม่ให้ใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยานอนหลับ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะใช้ได้ผลในระยะแรก แต่อาจทำให้ตื่นนอนตอนกลางคืน และทำให้มีอาการกระวนกระวายหรือทำให้ต้องตื่นเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ส่วนยานอนหลับ อาจสามารถใช้ได้เป็นครั้งคราว แต่ถ้าผู้ดูแลมีปัญหาเรื่องการนอนหลับทุกคืนควรรีบปรึกษาแพทย์
6 ภาวะจิตใจ (Mental status) แนะนำให้ผู้ดูแลสังเกตภาวะทางด้านสุขภาพจิตของตนเองให้ถามว่าตอนนี้ตนเองหัวเราะหรือยิ้มบ้างหรือเปล่ามีความรู้สึกกระตือรือร้นไหม การนอนหลับถูกรบกวนไหม มีอารมณ์สดชื่นเวลาตื่นนอนในตอนเช้าไหม เป็นคนหงุดหงิดโมโหง่ายหรือไม่และรู้สึกอยากหนีจากสิ่งเหล่านั้นหรือไม่ ปกติคนเราอาจมีความรู้สึกเหล่านี้เป็นบางครั้ง ในช่วงระยะเวลาสั้นได้ แต่ถ้าเป็นในระยะเวลานาน ก็จะทำให้สุขภาพจิตเสียไปได้เช่นกัน ดังนั้นหากมีความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้น ควรแนะนำให้ผู้ดูแลพยายามพูดคุยระบายกับเพื่อนหรือคนที่เข้าใจและไว้ใจได้ และผู้ดูแลควรสังเกตว่าตนเองเริ่มติดยาระงับประสาทเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ รับประทานอาหารจุ แม้กระทั่งยานอนหลับ หรือไม่หากสังเกตได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ โดยใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นหลังจากใช้ปริมาณน้อยๆเริ่มไม้ได้ผลให้พึงระวังไว้ว่าตนเองเริ่มมีอาการติดแล้วให้รีบปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
7 ภาวะเครียด ( Stress ) ภาวะเครียดคืออะไร สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรทำความเข้าใจก็คือ หากผู้ดูแลรู้สึกเครียดนั่นก็คือ ผู้ดูแลกำลังตกอยู่ใต้ภาวะเครียดนั่นเอง อย่างไรก็ตามเราจะถือว่าเป็นภาวะเครียดที่แท้จริงหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับผู้ดูแลที่จะพินิจพิเคราะห์ตนเองว่ากำลังตกอยู่ภายใต้ภาวะเครียดหรือไม่ โดยปกติแล้ว ถ้าภาวะเครียดเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ ร่างกายจะสามารถจัดการได้ จริง ๆ แล้ว ภาวะเครียดเล็ก ๆน้อย ๆ จะช่วยทำให้เรามีภาวะตื่นตัว ( alert ) อยู่เสมอ และมีสุขภาพดีหากปราศจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการท้าทายแล้ว เราก็จะเป็นคนเฉื่อยชา อย่างไรก็ตาม หากมีการเครียดนาน ๆ จะทำให้เราเกิดความอ่อนเพลียถาวร จะส่งผลกระทบถึง การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันดูเหมือนต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้น - สูญเสียความรู้สึกในการประมาณขนาด เช่นปัญหาเล็ก ๆ ก็รู้สึกเหมือนว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่ - รู้สึกไม่สามารถเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ได้ - ไม่สนุกสนาน ร่าเริง - มีปัญหาในการนอนหลับ ในช่วงที่มีภาวะเครียด จะมีการปรับตัว ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดปัญหาโรคหัวใจ
แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ลองเข้าไปทดสอบดูไหมคะ
8. อาการหงุดหงิดรำคาญ ( Irritability ) เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ดูแลจะมีอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลอาจมีอารมณ์หงุดหงิดรำคาญผู้ป่วย แต่พอผ่านไปสักพักก็มักจะรู้สึกเสียใจกับอารมณ์ของตนเองที่แสดงออกมาและมักจะโทษตัวเองอยู่เสมอในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มักจะถาม ถามคำถามเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า จำอะไรไม่ได้ มีพฤติกรรมแปลกๆ มักจะเป็นสาเหตุให้ผู้ดูแลหงุดหงิดรำคาญใจ ในขณะเดียวกันผู้ดูแลจะมีความรู้สึกสงสาร และเสียใจกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย บ่อยครั้งที่ผู้ดูแลมักจะมีความรู้สึกว่าผู้ป่วยบางครั้งเป็นญาติผู้ใหญ่ที่เคยให้ความเคารพรักนั้นไม่ใช่คนเดิม มีอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแต่อาการเหล่านี้อาจไม่ปรากฏให้คนอื่นๆเห็นแม้กระทั่งแพทย์บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการดีต่อหน้าแพทย์และคนอื่นซึ่งมักทำให้น้อยคนที่จะเข้าใจสภาวะที่ผู้ดูแลกำลังเผชิญอยู่
2. การดูแลภาวะสุขภาพร่างกาย ( Physical health) การรับประทานอาหาร ผู้ดูแลส่วนใหญ่จะเตรียมอาหารที่ดีที่สุดให้ผู้ป่วย โดยลืมใส่ใจในเรื่องการเตรียมอาหารสำหรับตนเอง ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ผู้ดูแลควรจะหาเวลาสำหรับตนเองในการเตรียมอาหาร การนั่งรับประทานอาหารอย่างมีความสุข อาหารก็ควรเตรียมมาจากอาหารที่สดและใหม่ ประกอบด้วยสารอาหารครบ 5 หมู่ อาหารที่มีเส้นใยมาก ควรทานวันละ 3 มื้อ ทานเพียงแต่พอประมาณ และไม่ควรทานอาหารหนักในมื้อเย็น
3. การออกกำลังกาย ( Exercise ) แม้ว่าการทำงานบ้านก็ถือว่าเป็นการออกกำลังอย่างหนึ่ง แต่อาจไม่เพียงพอควรมีการออกกำลังที่เป็นจังหวะติดต่อกันอย่างน้อยครั้งละ 20 - 30 นาที่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และทำให้กล้ามเนื้อกระชับเพิ่มขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย และยังเป็นการผ่อนคลายอารมณ์อีกด้วย เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ ส่วนการเล่นเทนนิส สควอสต์ การเต้นแอโรบิค อาจไม่เหมาะสมและเป็นอันตรายต่อผู้ดูแลที่สูงอายุได้
4. อาการปวดหลัง ( Backache ) ผู้ดูแลส่วนใหญ่มักบ่นว่ามีอาการปวดหลัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนย้าย การยกตัว ผู้ป่วยโดยใช้วิธีไม่ถูกต้อง และเกินกำลังของตัวเอง อย่างไรก็ตาม อาการปวดหลังนั้นมักเป็นสาเหตุมาจากภาวะจิตใจ (Psychosomatic) การแสดงออกของอาการนี้จะสื่อ ให้ทราบว่า ภาวะที่ ผู้ดูแลรับไว้นั้นนับวันจะเพิ่มมากขึ้น บางครั้ง ก็ไม่จำเป็น ที่จะให้แพทย์ตรวจอาการเพื่อดูอาการ เนื่องจากพบสิ่งผิดปกติ อาการปวดหลังยังเป็นอาการแสดงออกที่มีสาเหตุเนื่องมาจาก ภาวะเครียด ซึ่งเป็นอาการเตือนที่บ่งชี้ว่า ผู้ดูแลต้องการการหยุดพัก จากภาระนั้นๆ ซึ่งมักจะพบในรายที่ผู้ดูแลผู้ป่วยเพียงตามลำพัง เจ้าหน้าที่ควรให้การแนะนำเรื่องวิธีการยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่ถูกต้อง เช่น การยกตัว ผู้ป่วยโดยเข้าทางด้านหลังมากกว่าเข้าทางด้านหน้าหรือดูยกตัวอย่างจากนักกีฬายกน้ำหนัก โดยการงอเข่า แต่หลังยังยืนตรงขณะยก เพื่อป้องกันการปวดหลัง
5 การนอนหลับ (Sleep) ปกติแล้วคนเราต้องการเวลานอนหลับ 6-8ชั่วโมง ต่อคืน อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะเป็นคนเตือนเอง หากว่าได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ เช่นมีอารมณ์หงุดหงิด การอดนอนเป็นบางคืนอาจจะ ไม่มีผลกระทบต่อร่างกายมากเท่าไหร่ สามารถนอนชดเชยได้ ภายหลัง แต่การที่ต้องอดนอนเป็นประจำ เนื่องจากต้องดูแลผู้ป่วย จะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอย่างแน่นอน ดังนั้นควรแนะนำให้ผู้ดูแลหาเวลาพักผ่อนนอนหลับเป็นประจำทุกวัน เตือนผู้ดูแลไม่ให้ใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยานอนหลับ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะใช้ได้ผลในระยะแรก แต่อาจทำให้ตื่นนอนตอนกลางคืน และทำให้มีอาการกระวนกระวายหรือทำให้ต้องตื่นเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ส่วนยานอนหลับ อาจสามารถใช้ได้เป็นครั้งคราว แต่ถ้าผู้ดูแลมีปัญหาเรื่องการนอนหลับทุกคืนควรรีบปรึกษาแพทย์
6 ภาวะจิตใจ (Mental status) แนะนำให้ผู้ดูแลสังเกตภาวะทางด้านสุขภาพจิตของตนเองให้ถามว่าตอนนี้ตนเองหัวเราะหรือยิ้มบ้างหรือเปล่ามีความรู้สึกกระตือรือร้นไหม การนอนหลับถูกรบกวนไหม มีอารมณ์สดชื่นเวลาตื่นนอนในตอนเช้าไหม เป็นคนหงุดหงิดโมโหง่ายหรือไม่และรู้สึกอยากหนีจากสิ่งเหล่านั้นหรือไม่ ปกติคนเราอาจมีความรู้สึกเหล่านี้เป็นบางครั้ง ในช่วงระยะเวลาสั้นได้ แต่ถ้าเป็นในระยะเวลานาน ก็จะทำให้สุขภาพจิตเสียไปได้เช่นกัน ดังนั้นหากมีความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้น ควรแนะนำให้ผู้ดูแลพยายามพูดคุยระบายกับเพื่อนหรือคนที่เข้าใจและไว้ใจได้ และผู้ดูแลควรสังเกตว่าตนเองเริ่มติดยาระงับประสาทเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ รับประทานอาหารจุ แม้กระทั่งยานอนหลับ หรือไม่หากสังเกตได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ โดยใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นหลังจากใช้ปริมาณน้อยๆเริ่มไม้ได้ผลให้พึงระวังไว้ว่าตนเองเริ่มมีอาการติดแล้วให้รีบปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
7 ภาวะเครียด ( Stress ) ภาวะเครียดคืออะไร สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรทำความเข้าใจก็คือ หากผู้ดูแลรู้สึกเครียดนั่นก็คือ ผู้ดูแลกำลังตกอยู่ใต้ภาวะเครียดนั่นเอง อย่างไรก็ตามเราจะถือว่าเป็นภาวะเครียดที่แท้จริงหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับผู้ดูแลที่จะพินิจพิเคราะห์ตนเองว่ากำลังตกอยู่ภายใต้ภาวะเครียดหรือไม่ โดยปกติแล้ว ถ้าภาวะเครียดเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ ร่างกายจะสามารถจัดการได้ จริง ๆ แล้ว ภาวะเครียดเล็ก ๆน้อย ๆ จะช่วยทำให้เรามีภาวะตื่นตัว ( alert ) อยู่เสมอ และมีสุขภาพดีหากปราศจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการท้าทายแล้ว เราก็จะเป็นคนเฉื่อยชา อย่างไรก็ตาม หากมีการเครียดนาน ๆ จะทำให้เราเกิดความอ่อนเพลียถาวร จะส่งผลกระทบถึง การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันดูเหมือนต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้น - สูญเสียความรู้สึกในการประมาณขนาด เช่นปัญหาเล็ก ๆ ก็รู้สึกเหมือนว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่ - รู้สึกไม่สามารถเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ได้ - ไม่สนุกสนาน ร่าเริง - มีปัญหาในการนอนหลับ ในช่วงที่มีภาวะเครียด จะมีการปรับตัว ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดปัญหาโรคหัวใจ
แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ลองเข้าไปทดสอบดูไหมคะ
8. อาการหงุดหงิดรำคาญ ( Irritability ) เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ดูแลจะมีอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลอาจมีอารมณ์หงุดหงิดรำคาญผู้ป่วย แต่พอผ่านไปสักพักก็มักจะรู้สึกเสียใจกับอารมณ์ของตนเองที่แสดงออกมาและมักจะโทษตัวเองอยู่เสมอในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มักจะถาม ถามคำถามเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า จำอะไรไม่ได้ มีพฤติกรรมแปลกๆ มักจะเป็นสาเหตุให้ผู้ดูแลหงุดหงิดรำคาญใจ ในขณะเดียวกันผู้ดูแลจะมีความรู้สึกสงสาร และเสียใจกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย บ่อยครั้งที่ผู้ดูแลมักจะมีความรู้สึกว่าผู้ป่วยบางครั้งเป็นญาติผู้ใหญ่ที่เคยให้ความเคารพรักนั้นไม่ใช่คนเดิม มีอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแต่อาการเหล่านี้อาจไม่ปรากฏให้คนอื่นๆเห็นแม้กระทั่งแพทย์บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการดีต่อหน้าแพทย์และคนอื่นซึ่งมักทำให้น้อยคนที่จะเข้าใจสภาวะที่ผู้ดูแลกำลังเผชิญอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น