LOVELY

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

มารู้จัก CAI

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เนื่องจากความนิยมแพร่หลายมากขึ้นของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบัน จึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เป็นแนวคิดใหม่ซึ่งเกิดขึ้นมาไม่มากนัก สำหรับประเทศไทยนั้นได้มีแนวคิดในการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเข้าไปใช้ในโรงเรียน ตั้งแต่ พ.ศ.2525-2530 การพัฒนาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในประเทศไทยเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่องนัก เนื่องจากปัญหาทางด้านต่างๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงประวัติความเป็นมา ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นพัฒนาการระยะต่างๆ

ประโยชน์ CAI

ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการเรียนการสอนมาก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะสามารถนำมาใช้เป็นสื่อในการสอน หรือจะใช้เป็นสื่อช่วยในการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. ผู้เรียนเรียนได้ตามความช้าเร็วของตนเอง ทำให้สามารถควบคุมอัตราเร่งของการเรียนได้
2. การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่รวดเร็ว
3. สามารถเอาเสียงดนตรี สีสัน กราฟิก และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้ดูเหมือนของจริงและน่าเร้าใจ
4. ครูผู้สอนสามารถควบคุมการเรียนของผู้เรียนได้ เพราะคอมพิวเตอร์จะบันทึกการเรียนของผู้เรียนแต่ละ บุคคลไว้
5. ความใหม่แปลกของคอมพิวเตอร์จะเพิ่มความสนใจความตั้งใจของผู้เรียนมากขึ้น
6. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพ คือ ในแง่ที่ลดเวลา ทุ่นแรงผู้สอนและประสิทธิผล แง่ที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย
7. ด้านความรู้สึก ผู้เรียนมีความรู้สึกว่าตนเองกำลังเรียนหรือกำลังพูดคุยกับใครคนหนึ่งที่มีความรู้สึก มี อารมณ์ขันมีความชอบไม่ชอบใจ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้เรียนเกิดความอยากจะเรียนอยากทราบว่า เฟรมต่อไป จะเป็นอะไรถามว่าอย่างไรจะชมหรือติอย่างไร
8. บทเรียนคอมพิวเตอร์ดีกว่าสื่ออื่นในด้านความสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
9. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้รายบุคคลได้ดีสนองความต้องการระหว่างบุคคล เพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความต้องการของตนเอง
10. ความประหยัดในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการลงทุนเพียงครั้งเดียวสามารถใช้งานได้หลายครั้ง เป็นเวลายาวนานและถูกมากในการทำสำเนาบทเรียน 11. สามารถเก็บบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนได้ง่าย
12. ให้โอกาสในการสร้างสรรค์และพัฒนาวัตกรรมสำหรับหลักสูตร และวัสดุการศึกษา
13. เพิ่มวิชาสอนตามความต้องการของนักเรียน
14. ช่วยให้มีเวลาสำหรับตรวจสอบและพัฒนาหลักสูตร ตามหลัก
15. ช่วยเพิ่มวัตถุประสงค์ของการสอนได้เท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การฝึกฟังดนตรี ฯลฯ
16. เร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะนำเสนอได้ทั้งภาพและเสียง ตลอดจน มีการเสริมแรงให้ผลย้อนกลับ ในทันที เมื่อผู้เรียนตอบคำถาม
17. ช่วยแบ่งเบาภาระของครูผู้สอน

CAI กับการเรียนรู้ของคนไทย

CAIมาจากคำว่า"ComputerAidedInstruction"หรือบางแหล่งอาจจะใช้คำว่า"Computer AssistedInsturction"โดยมีการใช้คำในภาษาไทยว่า"สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน" เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยนำเอาสื่อคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ซึ่งก็คือ สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้จริงๆ แล้วคำว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน" ไม่ได้มีความหมายที่ CAI แต่ยังรวมถึงคำอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นคำใด ต่างก็มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ Information ต้องมีเนื้อหาสาระสำคัญ Individualized ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล Interactive ต้องมีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับบทเรียนได้ Immediate Feedback ต้องให้ผลย้อนกลับ
โดยทันทีเหตุผลสำคัญที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอนในรูปของ CAI ได้แก่ เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว ประเมินการตอบสนองของผู้เรียนได้แก่ การตัดสินคำตอบให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนนให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไปดังนั้นสามารถสรุปประโยชน์ของ CAI ได้ดังนี สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียนฯ มีโอกาสเลือก ตัดสินใจและได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อคนเอง ต้องควบคุมการเรียนด้วยตนเอง มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน และเสริมแรงให้อยากเรียนต่อให้ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้ หรือช่วยผู้เรียนคนอื่นที่เรียนก่อน ประหยัดเวลา และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มีประสบการณ์สูง หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบทเพราะสามารถส่งบทเรียนฯไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

การดูแลตนเองของผู้ดูแลแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ด้านดังนี้

1. การดูแลตนเอง ( Self - care ) การดูแลขั้นนี้เจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขจะต้องมีการวางแผนและตรวจสอบภาวะสุขภาพผู้ดูแลตระหนักในภาวะสุขภาพตนเองก่อน เปิดโอกาสให้ผู้ดูแลพูดคุยถึงภาวะสุขภาพของตนเอง โดยเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพจะเป็นผู้เสนอการให้การช่วยเหลือ ปรับปรุง หรือผดุงภาวะสุขภาพของผู้ดูแลหมั่นดูแลภาวะสุขภาพร่างกายของตนเอง

2. การดูแลภาวะสุขภาพร่างกาย ( Physical health) การรับประทานอาหาร ผู้ดูแลส่วนใหญ่จะเตรียมอาหารที่ดีที่สุดให้ผู้ป่วย โดยลืมใส่ใจในเรื่องการเตรียมอาหารสำหรับตนเอง ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ผู้ดูแลควรจะหาเวลาสำหรับตนเองในการเตรียมอาหาร การนั่งรับประทานอาหารอย่างมีความสุข อาหารก็ควรเตรียมมาจากอาหารที่สดและใหม่ ประกอบด้วยสารอาหารครบ 5 หมู่ อาหารที่มีเส้นใยมาก ควรทานวันละ 3 มื้อ ทานเพียงแต่พอประมาณ และไม่ควรทานอาหารหนักในมื้อเย็น

3. การออกกำลังกาย ( Exercise ) แม้ว่าการทำงานบ้านก็ถือว่าเป็นการออกกำลังอย่างหนึ่ง แต่อาจไม่เพียงพอควรมีการออกกำลังที่เป็นจังหวะติดต่อกันอย่างน้อยครั้งละ 20 - 30 นาที่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และทำให้กล้ามเนื้อกระชับเพิ่มขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย และยังเป็นการผ่อนคลายอารมณ์อีกด้วย เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ ส่วนการเล่นเทนนิส สควอสต์ การเต้นแอโรบิค อาจไม่เหมาะสมและเป็นอันตรายต่อผู้ดูแลที่สูงอายุได้

4. อาการปวดหลัง ( Backache ) ผู้ดูแลส่วนใหญ่มักบ่นว่ามีอาการปวดหลัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนย้าย การยกตัว ผู้ป่วยโดยใช้วิธีไม่ถูกต้อง และเกินกำลังของตัวเอง อย่างไรก็ตาม อาการปวดหลังนั้นมักเป็นสาเหตุมาจากภาวะจิตใจ (Psychosomatic) การแสดงออกของอาการนี้จะสื่อ ให้ทราบว่า ภาวะที่ ผู้ดูแลรับไว้นั้นนับวันจะเพิ่มมากขึ้น บางครั้ง ก็ไม่จำเป็น ที่จะให้แพทย์ตรวจอาการเพื่อดูอาการ เนื่องจากพบสิ่งผิดปกติ อาการปวดหลังยังเป็นอาการแสดงออกที่มีสาเหตุเนื่องมาจาก ภาวะเครียด ซึ่งเป็นอาการเตือนที่บ่งชี้ว่า ผู้ดูแลต้องการการหยุดพัก จากภาระนั้นๆ ซึ่งมักจะพบในรายที่ผู้ดูแลผู้ป่วยเพียงตามลำพัง เจ้าหน้าที่ควรให้การแนะนำเรื่องวิธีการยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่ถูกต้อง เช่น การยกตัว ผู้ป่วยโดยเข้าทางด้านหลังมากกว่าเข้าทางด้านหน้าหรือดูยกตัวอย่างจากนักกีฬายกน้ำหนัก โดยการงอเข่า แต่หลังยังยืนตรงขณะยก เพื่อป้องกันการปวดหลัง

5 การนอนหลับ (Sleep) ปกติแล้วคนเราต้องการเวลานอนหลับ 6-8ชั่วโมง ต่อคืน อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะเป็นคนเตือนเอง หากว่าได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ เช่นมีอารมณ์หงุดหงิด การอดนอนเป็นบางคืนอาจจะ ไม่มีผลกระทบต่อร่างกายมากเท่าไหร่ สามารถนอนชดเชยได้ ภายหลัง แต่การที่ต้องอดนอนเป็นประจำ เนื่องจากต้องดูแลผู้ป่วย จะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอย่างแน่นอน ดังนั้นควรแนะนำให้ผู้ดูแลหาเวลาพักผ่อนนอนหลับเป็นประจำทุกวัน เตือนผู้ดูแลไม่ให้ใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยานอนหลับ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะใช้ได้ผลในระยะแรก แต่อาจทำให้ตื่นนอนตอนกลางคืน และทำให้มีอาการกระวนกระวายหรือทำให้ต้องตื่นเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ส่วนยานอนหลับ อาจสามารถใช้ได้เป็นครั้งคราว แต่ถ้าผู้ดูแลมีปัญหาเรื่องการนอนหลับทุกคืนควรรีบปรึกษาแพทย์

6 ภาวะจิตใจ (Mental status) แนะนำให้ผู้ดูแลสังเกตภาวะทางด้านสุขภาพจิตของตนเองให้ถามว่าตอนนี้ตนเองหัวเราะหรือยิ้มบ้างหรือเปล่ามีความรู้สึกกระตือรือร้นไหม การนอนหลับถูกรบกวนไหม มีอารมณ์สดชื่นเวลาตื่นนอนในตอนเช้าไหม เป็นคนหงุดหงิดโมโหง่ายหรือไม่และรู้สึกอยากหนีจากสิ่งเหล่านั้นหรือไม่ ปกติคนเราอาจมีความรู้สึกเหล่านี้เป็นบางครั้ง ในช่วงระยะเวลาสั้นได้ แต่ถ้าเป็นในระยะเวลานาน ก็จะทำให้สุขภาพจิตเสียไปได้เช่นกัน ดังนั้นหากมีความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้น ควรแนะนำให้ผู้ดูแลพยายามพูดคุยระบายกับเพื่อนหรือคนที่เข้าใจและไว้ใจได้ และผู้ดูแลควรสังเกตว่าตนเองเริ่มติดยาระงับประสาทเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ รับประทานอาหารจุ แม้กระทั่งยานอนหลับ หรือไม่หากสังเกตได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ โดยใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นหลังจากใช้ปริมาณน้อยๆเริ่มไม้ได้ผลให้พึงระวังไว้ว่าตนเองเริ่มมีอาการติดแล้วให้รีบปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

7 ภาวะเครียด ( Stress ) ภาวะเครียดคืออะไร สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรทำความเข้าใจก็คือ หากผู้ดูแลรู้สึกเครียดนั่นก็คือ ผู้ดูแลกำลังตกอยู่ใต้ภาวะเครียดนั่นเอง อย่างไรก็ตามเราจะถือว่าเป็นภาวะเครียดที่แท้จริงหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับผู้ดูแลที่จะพินิจพิเคราะห์ตนเองว่ากำลังตกอยู่ภายใต้ภาวะเครียดหรือไม่ โดยปกติแล้ว ถ้าภาวะเครียดเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ ร่างกายจะสามารถจัดการได้ จริง ๆ แล้ว ภาวะเครียดเล็ก ๆน้อย ๆ จะช่วยทำให้เรามีภาวะตื่นตัว ( alert ) อยู่เสมอ และมีสุขภาพดีหากปราศจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการท้าทายแล้ว เราก็จะเป็นคนเฉื่อยชา อย่างไรก็ตาม หากมีการเครียดนาน ๆ จะทำให้เราเกิดความอ่อนเพลียถาวร จะส่งผลกระทบถึง การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันดูเหมือนต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้น - สูญเสียความรู้สึกในการประมาณขนาด เช่นปัญหาเล็ก ๆ ก็รู้สึกเหมือนว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่ - รู้สึกไม่สามารถเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ได้ - ไม่สนุกสนาน ร่าเริง - มีปัญหาในการนอนหลับ ในช่วงที่มีภาวะเครียด จะมีการปรับตัว ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดปัญหาโรคหัวใจ
แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ลองเข้าไปทดสอบดูไหมคะ
8. อาการหงุดหงิดรำคาญ ( Irritability ) เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ดูแลจะมีอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลอาจมีอารมณ์หงุดหงิดรำคาญผู้ป่วย แต่พอผ่านไปสักพักก็มักจะรู้สึกเสียใจกับอารมณ์ของตนเองที่แสดงออกมาและมักจะโทษตัวเองอยู่เสมอในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มักจะถาม ถามคำถามเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า จำอะไรไม่ได้ มีพฤติกรรมแปลกๆ มักจะเป็นสาเหตุให้ผู้ดูแลหงุดหงิดรำคาญใจ ในขณะเดียวกันผู้ดูแลจะมีความรู้สึกสงสาร และเสียใจกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย บ่อยครั้งที่ผู้ดูแลมักจะมีความรู้สึกว่าผู้ป่วยบางครั้งเป็นญาติผู้ใหญ่ที่เคยให้ความเคารพรักนั้นไม่ใช่คนเดิม มีอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแต่อาการเหล่านี้อาจไม่ปรากฏให้คนอื่นๆเห็นแม้กระทั่งแพทย์บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการดีต่อหน้าแพทย์และคนอื่นซึ่งมักทำให้น้อยคนที่จะเข้าใจสภาวะที่ผู้ดูแลกำลังเผชิญอยู่