การจัดลำดับความสำคัญเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องจัดแจงโดยด่วน นับว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยควบคุมตัวคุณให้ดูแลรับผิดชอบงานได้ดีขึ้น เพื่อที่จะจัดลำดับความสำคัญได้อย่างมีประสิทธิผลนั้น คุณต้องเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างสิ่งต่อไปนี้เสียก่อน นั่นคือ ความสำคัญ ความเร่งด่วนและความไม่จำเป็นนัก แต่ดูเหมือนว่าทุกสิ่งอย่างเร่งด่วนและต้องทำก่อนเป็นสิ่งแรกตลอดเวลา แต่ก็ไม่จำเป็นต้องขนาดนั้น หาก คุณไม่มีการวางแผนและการจัดลำดับความสำคัญที่ดีไว้ก่อน ซึ่งสถานการณ์ด่วนจี๋เหล่านั้น จะกลายเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยเลยทีเดียว ขั้นตอนแรกในการจัดลำดับความสำคัญก็คือ คุณต้องเลือกงานทั้งหลายในมือมาพิจารณาว่างานใดจะต้องทำในวันรุ่งขึ้นบ้าง งานเหล่านี้จะมาจากรายการหลักทั้งหมดและงานใหม่ที่เกิดขึ้นในระหว่างวันซึ่งได้รับจากทางโทรศัพท์ งานใหม่จริง ๆ และทางจดหมาย รายการลักษณะนี้ถือเป็นรายการงานรายวัน ที่จะต้องทำ
สรุป “ใช้เวลาสัก 15 นาที ตอนสิ้นวัน เพื่อเตรียมทำรายการงานที่จะต้องทำในวันรุ่งขึ้น” ขั้นตอนต่อจากการจัดลำดับความสำคัญของงานตามรายการแล้วก็คือ ให้เลือกงานที่สำคัญที่สุด 3 งาน ที่จะต้องทำให้เสร็จก่อน ไม่ว่าจะเกิดอะไรในระหว่างวันนั้นก็ตาม ใส่หมายเลขเรียงตามความสำคัญ 1,2 และ 3 ตามลำดับ ในระหว่างวันอาจมีหลายวิกฤตการณ์ผุดขึ้นมากวนใจอย่างไม่คาดคิด หรือมีหลากหลายสิ่งอย่างเกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้ก่อน และจะต้องใช้เวลาจัดการกับมันอยู่ดี แต่ ต้องไม่ทำให้เราละทิ้ง 3 งานสำคัญหลักที่จัดลำดับไว้อย่างเด็ดขาด อย่าลืมว่า 3 งานหลักนั้นจะต้องดูแลและจัดการให้ได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
สรุป “เลือกงานที่สำคัญที่สุด 3 งานที่จะต้องทำให้เสร็จไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น” หลังจากคุณบ่งชี้ 3 งานหลักที่ต้องจัดการแล้ว ขั้นตอนต่อมาอีกก็คือ ต้องดูแลงานที่ต้องทำที่มีความสำคัญเป็นอันดับสอง นั่นคือ กลุ่มงานที่มีหมายเลขความสำคัญลำดับ 4,5 และ 6 ของคุณ อย่างไรก็ตามงานเหล่านี้ต้องทำหลังจาก 3 งานสำคัญหลักเสร็จสิ้นก่อน เพราะอย่าลืมว่าคุณตัดสินให้ความสำคัญเป็นอันดับรองลงมานั่นเองแค่คุณติดตามขั้นตอนตามใบรายการ (“To Do” list) เพื่อควบคุมให้ดำเนินความผังรายการเท่านั้นก็เป็นพอ แต่ต้องพยายามทำให้ใบรายการเล็กเข้าไว้ ไม่ควรเกิน 8 รายการของงาน แล้วทำใบรายการรายวันที่จะต้องทำ ตอนที่กาหรือขีดฆ่างานที่ทำเสร็จแล้วออกจากรายการ คุณจะรู้สึกได้ถึงความสำเร็จของตน ต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าคุณไม่สามารถทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียวได้ สิ่งที่ไม่อยู่ในลำดับความสำคัญสูงสุดของวันนี้อาจเป็นลำดับต้น ๆ ปรากฏในใบรายการของวันรุ่งขึ้นก็ได้ ถ้าหากคุณจัดการในวันเดียวได้ถึง 6 รายการในใบรายการได้ ขอให้ภูมิใจได้ว่าวันนั้นคุณทำงานได้มากทีเดียว คุณอาจมีคำถามในใจว่าแค่ 5-6 งาน ตัวคุณทำได้ตามมาตรฐานหรือไม่ เพราะในแต่ละวันมีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นซึ่งไม่ได้มีการวางแผนไว้ก่อน คอยมาแทรกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นให้เปรียบเทียบดังนี้ 5-6 งานที่ทำได้ในแต่ละวันนั้นเท่ากับว่าคุณทำได้ถึง 25-30 งานในหนึ่งสัปดาห์ทีเดียว
สรุป “คุณไม่สามารถทำทุกอย่างได้ภายในวันเดียว” การจัดลำดับความสำคัญนั้นทำให้คุณรู้ได้ว่า ทุก ๆ วันจะมีงานสำคัญ ๆ 3 งาน ที่จะต้องจัดการให้เสร็จก่อนเริ่มต้นทำงานในเช้าวันใหม่ที่จะมาถึง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดการกับงานเหล่านั้นคือ พันธะสัญญาของคุณเอง คือคุณต้องพยายามหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อมาระงับยับยั้งนิสัยไม่ดีเก่า ๆ ของคุณเองให้จงได้ ด้วยวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ที่เล่ามาทั้งหมดข้างต้นเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่สามารถเรียนรู้ได้และรับรองได้ว่าใช้ได้จริงและช่วยให้งานของคุณง่ายขึ้น จะสังเกตได้อีกอย่างหนึ่งคือ คุณจะคลายความเครียดลงได้มากทีเดียว
สรุป “เลือกงานที่สำคัญที่สุด 3 งานที่จะต้องทำให้เสร็จไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น” หลังจากคุณบ่งชี้ 3 งานหลักที่ต้องจัดการแล้ว ขั้นตอนต่อมาอีกก็คือ ต้องดูแลงานที่ต้องทำที่มีความสำคัญเป็นอันดับสอง นั่นคือ กลุ่มงานที่มีหมายเลขความสำคัญลำดับ 4,5 และ 6 ของคุณ อย่างไรก็ตามงานเหล่านี้ต้องทำหลังจาก 3 งานสำคัญหลักเสร็จสิ้นก่อน เพราะอย่าลืมว่าคุณตัดสินให้ความสำคัญเป็นอันดับรองลงมานั่นเองแค่คุณติดตามขั้นตอนตามใบรายการ (“To Do” list) เพื่อควบคุมให้ดำเนินความผังรายการเท่านั้นก็เป็นพอ แต่ต้องพยายามทำให้ใบรายการเล็กเข้าไว้ ไม่ควรเกิน 8 รายการของงาน แล้วทำใบรายการรายวันที่จะต้องทำ ตอนที่กาหรือขีดฆ่างานที่ทำเสร็จแล้วออกจากรายการ คุณจะรู้สึกได้ถึงความสำเร็จของตน ต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าคุณไม่สามารถทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียวได้ สิ่งที่ไม่อยู่ในลำดับความสำคัญสูงสุดของวันนี้อาจเป็นลำดับต้น ๆ ปรากฏในใบรายการของวันรุ่งขึ้นก็ได้ ถ้าหากคุณจัดการในวันเดียวได้ถึง 6 รายการในใบรายการได้ ขอให้ภูมิใจได้ว่าวันนั้นคุณทำงานได้มากทีเดียว คุณอาจมีคำถามในใจว่าแค่ 5-6 งาน ตัวคุณทำได้ตามมาตรฐานหรือไม่ เพราะในแต่ละวันมีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นซึ่งไม่ได้มีการวางแผนไว้ก่อน คอยมาแทรกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นให้เปรียบเทียบดังนี้ 5-6 งานที่ทำได้ในแต่ละวันนั้นเท่ากับว่าคุณทำได้ถึง 25-30 งานในหนึ่งสัปดาห์ทีเดียว
สรุป “คุณไม่สามารถทำทุกอย่างได้ภายในวันเดียว” การจัดลำดับความสำคัญนั้นทำให้คุณรู้ได้ว่า ทุก ๆ วันจะมีงานสำคัญ ๆ 3 งาน ที่จะต้องจัดการให้เสร็จก่อนเริ่มต้นทำงานในเช้าวันใหม่ที่จะมาถึง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดการกับงานเหล่านั้นคือ พันธะสัญญาของคุณเอง คือคุณต้องพยายามหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อมาระงับยับยั้งนิสัยไม่ดีเก่า ๆ ของคุณเองให้จงได้ ด้วยวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ที่เล่ามาทั้งหมดข้างต้นเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่สามารถเรียนรู้ได้และรับรองได้ว่าใช้ได้จริงและช่วยให้งานของคุณง่ายขึ้น จะสังเกตได้อีกอย่างหนึ่งคือ คุณจะคลายความเครียดลงได้มากทีเดียว
วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การดูแลตนเองของผู้ดูแลแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ด้านดังนี้
1. การดูแลตนเอง ( Self - care ) การดูแลขั้นนี้เจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขจะต้องมีการวางแผนและตรวจสอบภาวะสุขภาพผู้ดูแลตระหนักในภาวะสุขภาพตนเองก่อน เปิดโอกาสให้ผู้ดูแลพูดคุยถึงภาวะสุขภาพของตนเอง โดยเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพจะเป็นผู้เสนอการให้การช่วยเหลือ ปรับปรุง หรือผดุงภาวะสุขภาพของผู้ดูแลหมั่นดูแลภาวะสุขภาพร่างกายของตนเอง
2. การดูแลภาวะสุขภาพร่างกาย ( Physical health) การรับประทานอาหาร ผู้ดูแลส่วนใหญ่จะเตรียมอาหารที่ดีที่สุดให้ผู้ป่วย โดยลืมใส่ใจในเรื่องการเตรียมอาหารสำหรับตนเอง ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ผู้ดูแลควรจะหาเวลาสำหรับตนเองในการเตรียมอาหาร การนั่งรับประทานอาหารอย่างมีความสุข อาหารก็ควรเตรียมมาจากอาหารที่สดและใหม่ ประกอบด้วยสารอาหารครบ 5 หมู่ อาหารที่มีเส้นใยมาก ควรทานวันละ 3 มื้อ ทานเพียงแต่พอประมาณ และไม่ควรทานอาหารหนักในมื้อเย็น
3. การออกกำลังกาย ( Exercise ) แม้ว่าการทำงานบ้านก็ถือว่าเป็นการออกกำลังอย่างหนึ่ง แต่อาจไม่เพียงพอควรมีการออกกำลังที่เป็นจังหวะติดต่อกันอย่างน้อยครั้งละ 20 - 30 นาที่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และทำให้กล้ามเนื้อกระชับเพิ่มขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย และยังเป็นการผ่อนคลายอารมณ์อีกด้วย เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ ส่วนการเล่นเทนนิส สควอสต์ การเต้นแอโรบิค อาจไม่เหมาะสมและเป็นอันตรายต่อผู้ดูแลที่สูงอายุได้
4. อาการปวดหลัง ( Backache ) ผู้ดูแลส่วนใหญ่มักบ่นว่ามีอาการปวดหลัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนย้าย การยกตัว ผู้ป่วยโดยใช้วิธีไม่ถูกต้อง และเกินกำลังของตัวเอง อย่างไรก็ตาม อาการปวดหลังนั้นมักเป็นสาเหตุมาจากภาวะจิตใจ (Psychosomatic) การแสดงออกของอาการนี้จะสื่อ ให้ทราบว่า ภาวะที่ ผู้ดูแลรับไว้นั้นนับวันจะเพิ่มมากขึ้น บางครั้ง ก็ไม่จำเป็น ที่จะให้แพทย์ตรวจอาการเพื่อดูอาการ เนื่องจากพบสิ่งผิดปกติ อาการปวดหลังยังเป็นอาการแสดงออกที่มีสาเหตุเนื่องมาจาก ภาวะเครียด ซึ่งเป็นอาการเตือนที่บ่งชี้ว่า ผู้ดูแลต้องการการหยุดพัก จากภาระนั้นๆ ซึ่งมักจะพบในรายที่ผู้ดูแลผู้ป่วยเพียงตามลำพัง เจ้าหน้าที่ควรให้การแนะนำเรื่องวิธีการยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่ถูกต้อง เช่น การยกตัว ผู้ป่วยโดยเข้าทางด้านหลังมากกว่าเข้าทางด้านหน้าหรือดูยกตัวอย่างจากนักกีฬายกน้ำหนัก โดยการงอเข่า แต่หลังยังยืนตรงขณะยก เพื่อป้องกันการปวดหลัง
5 การนอนหลับ (Sleep) ปกติแล้วคนเราต้องการเวลานอนหลับ 6-8ชั่วโมง ต่อคืน อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะเป็นคนเตือนเอง หากว่าได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ เช่นมีอารมณ์หงุดหงิด การอดนอนเป็นบางคืนอาจจะ ไม่มีผลกระทบต่อร่างกายมากเท่าไหร่ สามารถนอนชดเชยได้ ภายหลัง แต่การที่ต้องอดนอนเป็นประจำ เนื่องจากต้องดูแลผู้ป่วย จะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอย่างแน่นอน ดังนั้นควรแนะนำให้ผู้ดูแลหาเวลาพักผ่อนนอนหลับเป็นประจำทุกวัน เตือนผู้ดูแลไม่ให้ใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยานอนหลับ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะใช้ได้ผลในระยะแรก แต่อาจทำให้ตื่นนอนตอนกลางคืน และทำให้มีอาการกระวนกระวายหรือทำให้ต้องตื่นเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ส่วนยานอนหลับ อาจสามารถใช้ได้เป็นครั้งคราว แต่ถ้าผู้ดูแลมีปัญหาเรื่องการนอนหลับทุกคืนควรรีบปรึกษาแพทย์
6 ภาวะจิตใจ (Mental status) แนะนำให้ผู้ดูแลสังเกตภาวะทางด้านสุขภาพจิตของตนเองให้ถามว่าตอนนี้ตนเองหัวเราะหรือยิ้มบ้างหรือเปล่ามีความรู้สึกกระตือรือร้นไหม การนอนหลับถูกรบกวนไหม มีอารมณ์สดชื่นเวลาตื่นนอนในตอนเช้าไหม เป็นคนหงุดหงิดโมโหง่ายหรือไม่และรู้สึกอยากหนีจากสิ่งเหล่านั้นหรือไม่ ปกติคนเราอาจมีความรู้สึกเหล่านี้เป็นบางครั้ง ในช่วงระยะเวลาสั้นได้ แต่ถ้าเป็นในระยะเวลานาน ก็จะทำให้สุขภาพจิตเสียไปได้เช่นกัน ดังนั้นหากมีความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้น ควรแนะนำให้ผู้ดูแลพยายามพูดคุยระบายกับเพื่อนหรือคนที่เข้าใจและไว้ใจได้ และผู้ดูแลควรสังเกตว่าตนเองเริ่มติดยาระงับประสาทเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ รับประทานอาหารจุ แม้กระทั่งยานอนหลับ หรือไม่หากสังเกตได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ โดยใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นหลังจากใช้ปริมาณน้อยๆเริ่มไม้ได้ผลให้พึงระวังไว้ว่าตนเองเริ่มมีอาการติดแล้วให้รีบปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
7 ภาวะเครียด ( Stress ) ภาวะเครียดคืออะไร สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรทำความเข้าใจก็คือ หากผู้ดูแลรู้สึกเครียดนั่นก็คือ ผู้ดูแลกำลังตกอยู่ใต้ภาวะเครียดนั่นเอง อย่างไรก็ตามเราจะถือว่าเป็นภาวะเครียดที่แท้จริงหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับผู้ดูแลที่จะพินิจพิเคราะห์ตนเองว่ากำลังตกอยู่ภายใต้ภาวะเครียดหรือไม่ โดยปกติแล้ว ถ้าภาวะเครียดเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ ร่างกายจะสามารถจัดการได้ จริง ๆ แล้ว ภาวะเครียดเล็ก ๆน้อย ๆ จะช่วยทำให้เรามีภาวะตื่นตัว ( alert ) อยู่เสมอ และมีสุขภาพดีหากปราศจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการท้าทายแล้ว เราก็จะเป็นคนเฉื่อยชา อย่างไรก็ตาม หากมีการเครียดนาน ๆ จะทำให้เราเกิดความอ่อนเพลียถาวร จะส่งผลกระทบถึง การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันดูเหมือนต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้น - สูญเสียความรู้สึกในการประมาณขนาด เช่นปัญหาเล็ก ๆ ก็รู้สึกเหมือนว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่ - รู้สึกไม่สามารถเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ได้ - ไม่สนุกสนาน ร่าเริง - มีปัญหาในการนอนหลับ ในช่วงที่มีภาวะเครียด จะมีการปรับตัว ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดปัญหาโรคหัวใจ
แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ลองเข้าไปทดสอบดูไหมคะ
8. อาการหงุดหงิดรำคาญ ( Irritability ) เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ดูแลจะมีอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลอาจมีอารมณ์หงุดหงิดรำคาญผู้ป่วย แต่พอผ่านไปสักพักก็มักจะรู้สึกเสียใจกับอารมณ์ของตนเองที่แสดงออกมาและมักจะโทษตัวเองอยู่เสมอในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มักจะถาม ถามคำถามเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า จำอะไรไม่ได้ มีพฤติกรรมแปลกๆ มักจะเป็นสาเหตุให้ผู้ดูแลหงุดหงิดรำคาญใจ ในขณะเดียวกันผู้ดูแลจะมีความรู้สึกสงสาร และเสียใจกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย บ่อยครั้งที่ผู้ดูแลมักจะมีความรู้สึกว่าผู้ป่วยบางครั้งเป็นญาติผู้ใหญ่ที่เคยให้ความเคารพรักนั้นไม่ใช่คนเดิม มีอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแต่อาการเหล่านี้อาจไม่ปรากฏให้คนอื่นๆเห็นแม้กระทั่งแพทย์บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการดีต่อหน้าแพทย์และคนอื่นซึ่งมักทำให้น้อยคนที่จะเข้าใจสภาวะที่ผู้ดูแลกำลังเผชิญอยู่
2. การดูแลภาวะสุขภาพร่างกาย ( Physical health) การรับประทานอาหาร ผู้ดูแลส่วนใหญ่จะเตรียมอาหารที่ดีที่สุดให้ผู้ป่วย โดยลืมใส่ใจในเรื่องการเตรียมอาหารสำหรับตนเอง ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ผู้ดูแลควรจะหาเวลาสำหรับตนเองในการเตรียมอาหาร การนั่งรับประทานอาหารอย่างมีความสุข อาหารก็ควรเตรียมมาจากอาหารที่สดและใหม่ ประกอบด้วยสารอาหารครบ 5 หมู่ อาหารที่มีเส้นใยมาก ควรทานวันละ 3 มื้อ ทานเพียงแต่พอประมาณ และไม่ควรทานอาหารหนักในมื้อเย็น
3. การออกกำลังกาย ( Exercise ) แม้ว่าการทำงานบ้านก็ถือว่าเป็นการออกกำลังอย่างหนึ่ง แต่อาจไม่เพียงพอควรมีการออกกำลังที่เป็นจังหวะติดต่อกันอย่างน้อยครั้งละ 20 - 30 นาที่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และทำให้กล้ามเนื้อกระชับเพิ่มขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย และยังเป็นการผ่อนคลายอารมณ์อีกด้วย เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ ส่วนการเล่นเทนนิส สควอสต์ การเต้นแอโรบิค อาจไม่เหมาะสมและเป็นอันตรายต่อผู้ดูแลที่สูงอายุได้
4. อาการปวดหลัง ( Backache ) ผู้ดูแลส่วนใหญ่มักบ่นว่ามีอาการปวดหลัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนย้าย การยกตัว ผู้ป่วยโดยใช้วิธีไม่ถูกต้อง และเกินกำลังของตัวเอง อย่างไรก็ตาม อาการปวดหลังนั้นมักเป็นสาเหตุมาจากภาวะจิตใจ (Psychosomatic) การแสดงออกของอาการนี้จะสื่อ ให้ทราบว่า ภาวะที่ ผู้ดูแลรับไว้นั้นนับวันจะเพิ่มมากขึ้น บางครั้ง ก็ไม่จำเป็น ที่จะให้แพทย์ตรวจอาการเพื่อดูอาการ เนื่องจากพบสิ่งผิดปกติ อาการปวดหลังยังเป็นอาการแสดงออกที่มีสาเหตุเนื่องมาจาก ภาวะเครียด ซึ่งเป็นอาการเตือนที่บ่งชี้ว่า ผู้ดูแลต้องการการหยุดพัก จากภาระนั้นๆ ซึ่งมักจะพบในรายที่ผู้ดูแลผู้ป่วยเพียงตามลำพัง เจ้าหน้าที่ควรให้การแนะนำเรื่องวิธีการยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่ถูกต้อง เช่น การยกตัว ผู้ป่วยโดยเข้าทางด้านหลังมากกว่าเข้าทางด้านหน้าหรือดูยกตัวอย่างจากนักกีฬายกน้ำหนัก โดยการงอเข่า แต่หลังยังยืนตรงขณะยก เพื่อป้องกันการปวดหลัง
5 การนอนหลับ (Sleep) ปกติแล้วคนเราต้องการเวลานอนหลับ 6-8ชั่วโมง ต่อคืน อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะเป็นคนเตือนเอง หากว่าได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ เช่นมีอารมณ์หงุดหงิด การอดนอนเป็นบางคืนอาจจะ ไม่มีผลกระทบต่อร่างกายมากเท่าไหร่ สามารถนอนชดเชยได้ ภายหลัง แต่การที่ต้องอดนอนเป็นประจำ เนื่องจากต้องดูแลผู้ป่วย จะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอย่างแน่นอน ดังนั้นควรแนะนำให้ผู้ดูแลหาเวลาพักผ่อนนอนหลับเป็นประจำทุกวัน เตือนผู้ดูแลไม่ให้ใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยานอนหลับ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะใช้ได้ผลในระยะแรก แต่อาจทำให้ตื่นนอนตอนกลางคืน และทำให้มีอาการกระวนกระวายหรือทำให้ต้องตื่นเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ส่วนยานอนหลับ อาจสามารถใช้ได้เป็นครั้งคราว แต่ถ้าผู้ดูแลมีปัญหาเรื่องการนอนหลับทุกคืนควรรีบปรึกษาแพทย์
6 ภาวะจิตใจ (Mental status) แนะนำให้ผู้ดูแลสังเกตภาวะทางด้านสุขภาพจิตของตนเองให้ถามว่าตอนนี้ตนเองหัวเราะหรือยิ้มบ้างหรือเปล่ามีความรู้สึกกระตือรือร้นไหม การนอนหลับถูกรบกวนไหม มีอารมณ์สดชื่นเวลาตื่นนอนในตอนเช้าไหม เป็นคนหงุดหงิดโมโหง่ายหรือไม่และรู้สึกอยากหนีจากสิ่งเหล่านั้นหรือไม่ ปกติคนเราอาจมีความรู้สึกเหล่านี้เป็นบางครั้ง ในช่วงระยะเวลาสั้นได้ แต่ถ้าเป็นในระยะเวลานาน ก็จะทำให้สุขภาพจิตเสียไปได้เช่นกัน ดังนั้นหากมีความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้น ควรแนะนำให้ผู้ดูแลพยายามพูดคุยระบายกับเพื่อนหรือคนที่เข้าใจและไว้ใจได้ และผู้ดูแลควรสังเกตว่าตนเองเริ่มติดยาระงับประสาทเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ รับประทานอาหารจุ แม้กระทั่งยานอนหลับ หรือไม่หากสังเกตได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ โดยใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นหลังจากใช้ปริมาณน้อยๆเริ่มไม้ได้ผลให้พึงระวังไว้ว่าตนเองเริ่มมีอาการติดแล้วให้รีบปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
7 ภาวะเครียด ( Stress ) ภาวะเครียดคืออะไร สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรทำความเข้าใจก็คือ หากผู้ดูแลรู้สึกเครียดนั่นก็คือ ผู้ดูแลกำลังตกอยู่ใต้ภาวะเครียดนั่นเอง อย่างไรก็ตามเราจะถือว่าเป็นภาวะเครียดที่แท้จริงหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับผู้ดูแลที่จะพินิจพิเคราะห์ตนเองว่ากำลังตกอยู่ภายใต้ภาวะเครียดหรือไม่ โดยปกติแล้ว ถ้าภาวะเครียดเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ ร่างกายจะสามารถจัดการได้ จริง ๆ แล้ว ภาวะเครียดเล็ก ๆน้อย ๆ จะช่วยทำให้เรามีภาวะตื่นตัว ( alert ) อยู่เสมอ และมีสุขภาพดีหากปราศจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการท้าทายแล้ว เราก็จะเป็นคนเฉื่อยชา อย่างไรก็ตาม หากมีการเครียดนาน ๆ จะทำให้เราเกิดความอ่อนเพลียถาวร จะส่งผลกระทบถึง การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันดูเหมือนต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้น - สูญเสียความรู้สึกในการประมาณขนาด เช่นปัญหาเล็ก ๆ ก็รู้สึกเหมือนว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่ - รู้สึกไม่สามารถเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ได้ - ไม่สนุกสนาน ร่าเริง - มีปัญหาในการนอนหลับ ในช่วงที่มีภาวะเครียด จะมีการปรับตัว ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดปัญหาโรคหัวใจ
แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ลองเข้าไปทดสอบดูไหมคะ
8. อาการหงุดหงิดรำคาญ ( Irritability ) เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ดูแลจะมีอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลอาจมีอารมณ์หงุดหงิดรำคาญผู้ป่วย แต่พอผ่านไปสักพักก็มักจะรู้สึกเสียใจกับอารมณ์ของตนเองที่แสดงออกมาและมักจะโทษตัวเองอยู่เสมอในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มักจะถาม ถามคำถามเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า จำอะไรไม่ได้ มีพฤติกรรมแปลกๆ มักจะเป็นสาเหตุให้ผู้ดูแลหงุดหงิดรำคาญใจ ในขณะเดียวกันผู้ดูแลจะมีความรู้สึกสงสาร และเสียใจกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย บ่อยครั้งที่ผู้ดูแลมักจะมีความรู้สึกว่าผู้ป่วยบางครั้งเป็นญาติผู้ใหญ่ที่เคยให้ความเคารพรักนั้นไม่ใช่คนเดิม มีอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแต่อาการเหล่านี้อาจไม่ปรากฏให้คนอื่นๆเห็นแม้กระทั่งแพทย์บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการดีต่อหน้าแพทย์และคนอื่นซึ่งมักทำให้น้อยคนที่จะเข้าใจสภาวะที่ผู้ดูแลกำลังเผชิญอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น